1.5 ml (ประมาณ 510 เมล็ด) 290 Baht
20 ml (ประมาณ 6,600+ เมล็ด) 800 Baht
20 ml (ประมาณ 6,600+ เมล็ด) 800 Baht
Lot ผลิต เดือน 10 ปลูกภายใน 1 ปี test 75%
เมล็ดพันธุ์ Moroheiya (โมโรเฮยะ)
"ผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีต้นกำเนิดจากประเทศอียิปต์ ในภาษาอาหรับได้ฉายาว่า ผักของพระราชา มีสารอาหารมากมาย เป็นผักทนร้อน เติบโตได้ดีในฤดูร้อน แม้ในพื้นที่ทะเลทราย
ชอบที่ ที่มีแสงแดดและอากาศถ่ายเท ชอบความชื้นปานกลาง ไม่เลือกดินเป็นพิเศษ มีเบต้าแคโรทีน และ กรดโฟลิค ปริมาณมาก และ วิตามิน A ,B2,C,E แคลเซียม ธาตุเหล็ก และอื่นๆ
จะใช้ใบอ่อนทำอาหาร นิยมนำไปทำเมนูเทมปุระ ชุปแป้งเทมปุระรวมกับกุ้ง หรือวัตถุดิบอื่นๆ ทำซุป สลัด เครื่องเคียง ใบแห้งนำไปทำชา ทำเป็นผงโรยข้าว หรือผสมกับแป้ง ทำขนมปัง แพนเค้ก คุกกี้ เบเกอรี่ต่างๆ นำไปทำแบรนด์อาหารมากมาย
แม้จะเป็นผักเพื่อสุขภาพก็ตาม แต่มีข้อควรระวังคือ *ห้ามรับประทาน ฝักและเมล็ดโมโรเฮยะ* เนื่องจากมี สาร Cardiac Glycoside ที่ก่อให้เกิดพิษได้ทั้งคนและสัตว์ ทำให้เวียนหัว อาเจียน ท้องร่วง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แม้แต่กิ่งก้านใบที่มีอายุมาก ก็ไม่ควรทาน ในสมัยโบราณ เมล็ดโมโรเฮยะใช้ทำเป็นยาพิษสำหรับธนูและลูกศร
ควรระวัง หากเป็นการปลูกที่สวนในบ้าน เด็ก หรือ สัตว์เลี้ยง อาจนำเมล็ดเข้าปาก โดยไม่ตั้งใจ ในจังหวัดนางาซากิมีรายงานกรณีวัวที่ตาย จากการกินเมล็ดโมโรเฮยะ หลังซองเมล็ดพันธุ์ของญี่ปุ่นจะมีแจ้ง คำเตือนเรื่องห้ามรับประทาน ดอก เมล็ด ฝัก โมโรเฮยะ นี้ไว้เสมอ
โดยทั่วไป จะกินเฉพาะใบอ่อน ส่วนก้านต้องอ่อน พอที่จะหักด้วยมือได้ จึงต้องคอยดูเรื่องระยะเวลาการเก็บ อย่างไรก็ตาม ผักโมโรเฮยะที่มีจำหน่ายตามร้านขายผักทั่วไปในญี่ปุ่น หรือตามร้านอาหาร ได้รับการประเมินว่ามีความปลอดภัย
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกคือ 25-30°C ทนต่ออุณหภูมิสูงและแห้งได้ดี รดน้ำในปริมาณที่ไม่ให้ดินแห้งเกินไป เมื่อจำนวนใบไม้หนาแน่น จะเป็นแหล่งของแมลง ลดจำนวนใบ เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดี
เมื่อต้นสูงถึง 40-50 ซม. เก็บเกี่ยว โดยตัดใบอ่อน ตัดก้านยาวประมาณ 15-20 ซม. ไม่ควรให้ความสูงของต้นเกิน 70-80 ซม. ขอแนะนำให้เก็บเกี่ยวตัดใบอ่อนทานบ่อยๆ"
ภาพจาก mololab.com
เมื่อต้นสูงประมาณ 1 เมตร ตัดยอดประมาณ 20 ซม. จากยอดของลำต้นหลัก (ลำต้นที่หนาที่สุด) โดยติดใบหลายใบ จุดประสงค์ของการตัดยอดคือเพื่อป้องกันไม่ให้พืชสูงเกินไปและเพิ่มผลผลิต
ภาพจาก mololab.com
ช่วงเก็บเกี่ยวคือ เมื่อกิ่งข้างยาวประมาณ 20 ซม.ตัดเก็บเกี่ยวได้
เวลาเก็บเกี่ยวคือเก็บก่อนจนถึงช่วงดอกไม้จะบาน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โมโรเฮยะ
ปริมาณเมล็ดโมโรเฮยะที่สามารถทำให้สุกรตายได้คือ ขนาด 0.5 กรัม กล่าวกันว่าใน 1 ฝักมีเมล็ดประมาณ 200 เมล็ด 0.7 กรัม
(อ้างอิงจาก UMIN : University Hospital Medical Information Network)
ที่ญี่ปุ่นในเดือน ตุลาคมปี 1996 ที่ฟาร์มใน จ.นางาซากิ เมื่อวัวขนาดโตเต็มวัย 5 ตัว ได้รับผักโมโรเฮยะที่มีฝักเมล็ดติดไปด้วยเป็นอาหาร มีวัว 3 ตัวที่ตายด้วยพิษนี้ เป็นพิษที่ร้ายแรงทีเดียว
ภาพแสดงปริมาณ สาร Strophanthidin
ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ Cardiac glycoside
Strophanthidin ปริมาณจะเปลี่ยนแปลงในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโต ในแต่ละส่วนของพืช ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงการเก็บเกี่ยว
(อ้างอิงจาก Japanese Journal of Food Chemistry and Safety)
จะเห็นว่า ตรวจพบ Strophanthidin ในใบ ลำต้น และรากระยะหนึ่งหลังเมล็ดงอก แต่ปริมาณจะลดลงเมื่อพืชโตขึ้น ในช่วงเก็บเกี่ยว ปริมาณสารในใบ ลำต้น และรากจะมีน้อยจนไม่เป็นปัญหา ดังนั้นจึงสามารถรับประทานได้อย่างมั่นใจในช่วงนี้ แต่ ระยะเวลาช่วงเก็บเกี่ยวอาจแตกต่างกันตามฤดูกาล
ภาพจาก mololab.com
ภาพต่อไป แสดงผลการวิจัยของ
Mie Prefectural Science and Technology Promotion Center
เรื่องการเปลี่ยนแปลงปริมาณ Strophanthidin ระหว่างการเกิดเมล็ดภายในฝักโมโรเฮยะ
จากภาพ เมื่อออกฝัก 4-5 วันไปแล้วสาร Strophanthidin ถูกตรวจพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งสำคัญในการปลูกโมโรเฮยะคือ ต้องคอยจัดการดูแล ระยะเวลาเก็บเกี่ยวเพื่อให้ทานได้อย่างปลอดภัย ทานเฉพาะใบและลำต้นเท่านั้น จัดการดูแลสถานที่ปลูก ที่ปลอดภัยต่อการเข้าถึงของสัตว์เลี้ยง หรือ เด็ก
ภาพจาก mololab.com