ประวัติความเป็นมาของเมล่อนญี่ปุ่น บทความที่ 1-4

*แปลจาก Website ญี่ปุ่น ผู้แปลไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกเมล่อนโดยตรง ศัพท์เฉพาะด้านเทคนิคการปลูกอาจมีความคลาดเคลื่อน*

บทความที่ 1

1การจัดการเมลอน ผลไม้ชั้นสูงเกรดดี

1 เมลอนจากยุโรป ต้นกำเนิดที่มายังญี่ปุ่น


เมลอนเกรดสูงราคาแพง
ช่วงสมัยยุคกลางของเมจิ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์สำหรับพระจักพรรดิ  ในยุคนั้น เกษตรกรที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง Fukuba Hayato
ได้นำเมล็ดเมลอนเข้ามาจากฝรั่งเศส และได้ปลูกด้วยความพยายาม เพื่อที่จะให้พระจักพรรดิได้ทาน เมลอนรสชาติดีๆ

แต่ในเวลานั้น เมลอนที่นำเข้ามาจากฝรั่งเศส มีกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นชอบอย่างมาก แต่ความหวานยังไม่ดีพอ Fukuba Hayato ได้รับรู้ถึงวิธีการชาวอังกฤษที่ปลูกพืชในห้องกระจก จึงรับวิธีการนี้เข้ามาใช้ และทำให้ได้เมลอนที่รสชาติหวานได้ผลดี , กลุ่ม บริษัท ในเครือ มิตซุย, อิวาซากิ (มิตซูบิชิ) ,ในบ้านเศรษฐีชื่อ Okuma ,แม้แต่ในมหาวิทยาลัยโตเกียว ก็ปลูกเมลอนกันได้ผลดี สำหรับประชาชนคนธรรมดา เมลอนเป็นผลไม้ชั้นสูงที่เอื้อมไม่ถึง

2 การเข้าถึงที่มากขึ้น

เมลอนสำหรับประชาชน ช่วงก่อนสงคราม จะเป็นเมลอน Oriental melon (makuwauri) ชนชั้นกลางจะมีไม่มาก สายพันธุ์เมลอนในช่วงนั้นจะมีที่มาจากอังกฤษเท่านั้น หลังสงคราม กลุ่มชนชั้นกลางมีมากขึ้น เมลอนสายพันธุ์ใหม่ๆก็เกิดขึ้น แพร่หลาย ปีโชวะที่ 37 การปลูกเมลอนในหมู่ประชาชนแพร่หลายไป 3,000 เฮกเตอร์ เมลอนที่ได้รับการผสมจาก พันธุ์ sharante ฝรั่งเศส กับพันธุ์ New Melon จนกลายมาเป็น พันธุ์ Prince Melon ที่หวาน อร่อยที่สุดในยุคนั้น เป็นเมลอนที่เป็นของขวัญ สำหรับประชาชน

แต่มนุษย์ยังไม่พอสำหรับความพอใจเพียงแค่นี้ รสชาติของ Prince Melon ยังถูกวิจารณ์ว่ายังไม่ใช่รสชาติของเมลอนที่แท้จริง จึงพยายามพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป พันธุ์ปลูกง่าย แพร่หลายไปในตลาด ถูกเรียกว่า House Melon คือพันธุ์ Consakku,Fukamidori,Andes,Amusu  โดยเฉพาะ Andes,Amusu
จากยุคนั้น จนมาปัจจุบันยังเป็นที่นิยมปลูกกันในหลายพื้นที่เสมอ
Melon เรือนกระจกจากชิสุโอกะ
Earl's Favourite
Melon สายพันธุ์ Earl's ที่เรียงสวยงาม
「Earl's Knight Natsu no.2」
ตัวแทนของ House Melon
「Andes」
จุดเด่นของพันธุ์ ลายแนวตั้ง
「Amusu」
ปลูกง่าย โตช้า
「Ichiba Kouji」
ฮอกไกโดเนื้อในสีเขียว
「KAI RYOU KLUGER

3สายพันธุ์เมลอนที่หลากหลาย

ปัจจุบันญี่ปุ่นมีพันธุ์เมลอนที่มากขึ้น แต่ขอกล่าวถึงสายพันธุ์หลักๆของญี่ปุ่นดังนี้
(1) Greenhouse/Glasshouse Melon
เมลอนเรือนกระจกของแท้ สมบูรณ์แบบนั้น ดูได้ที่ จังหวัด ชิสุโอกะ และ จังหวัด ชิบะ  มีทั้งปลูก บน Bed และ บน Bench จะเป็นพันธุ์ Earl's Favourite   แต่ตามท้องตลาดที่ข้างกล่องใส่ผลไม้นั้น บางทีเขาจะเขียนไว้ว่าเป็น Glasshouse Melon แต่แท้จริงแล้วเขาไม่ได้ปลูกบน Bed , Bench เขาปลูกในโรงเรือนที่เป็นแค่หลังคาพลาสติกคลุม (vinyl house) พื้นเป็นพื้นดินโดยตรง ใช้สายพันธุ์คล้ายๆกับ Earl's Favourite แบบนี้ไม่ใช่ Glasshouse Melon ของแท้

Earl's Favourite เป็นพันธ์ุที่นำเข้ามาจากอังกฤษในปี ไทโชที่ 14 (1925) คุณสมบัติคือ หากปลูกในที่อุณหภูมิสูง จะให้ผลใหญ่ ในที่อุณหภูมิต่ำจะให้ผลเล็ก เพื่อให้ทั้ง 4 ฤดูกาล ได้ผลเมลอนขนาด 1.2-1.5 กิโล จึงจำเป็นต้องควบคุมการปลูก ปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น ณ ปัจจุบัน มีการผสมกันถึง 10 สายพันธุ์ เพาะปลูกให้ผลผลิตได้ตามจำนวนที่ตั้งไว้ พร้อมส่งตลาดตามกำหนดใน 1 ปี ขนาดของลูกต้องได้ตามนั้นด้วย แม้จะเป็นช่วงวิกฤตฟองสบู่ ราคาเมลอนเกรดสูงก็จะยังคงราคาขายที่ประมาณ ลูกละ 2หมื่น เยน ส่วนเกรดราคาถูกจะอยู่ที่ประมาณ 3 พัน เยน

(2) สายพันธุ์ Earl's Melon 
สายพันธุ์นี้เริ่มปลูกกันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาจากสายพันธุ์ Earl's Favourite จะไม่ปลูกบน Bed , Bench จะปลูกใน vinyl house กับพื้นดินโดยตรง ในช่วงหลังพัฒนาให้ทนโรคราแป้ง เถาปริแตก ปลูกง่ายขึ้นมาก การแพคกิ้งสินค้า จะทำเหมือนกับ เมลอนเรือนกระจกเกรดดี และยังเขียนโฆษณาอีกว่าเป็น Glasshouse Melon
แต่ราคาถูกกว่ามาก อยู่ที่ 1000-2000 เยน คุณภาพรสชาติก็พัฒนาได้ดีมากๆ ตัวแทนของเกรดนี้คือ 
Earl's Seinu / Earl's Knight / Crest / Miyabi เป็นต้น แต่ละชื่อที่กล่าวมาก็สามารถปลูกได้ทั้ง 4 ฤดูกาล โดยอาศัยการดูแลจัดการร่วมด้วย

(3) House Melon แบบมีลายตาข่าย
หลังสงครามปี โชวะที่ 20 สถานีวิจัยการเกษตรจังหวัด ชิมะเนะ ได้ประกาศพันธุ์ Shinhouro และ Houjun
ปีที่ 30 มีการปลูกพันธุ์ Lift ที่ Yamagata ในช่วงเวลาเดียวกัน กระทรวงเกษตรและป่าไม้ได้ปลูกพันธุ์ Pearl ในแบบเรือนกระจก การเก็บรักษาผลหลังเก็บเกี่ยวยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ความหวานก็ยังไม่ดี ปีที่ 46 สถาบันวิจัยประกาศ พันธุ์ kosakku พันธุ์นี้ยังคงมีปัญหาโรคพืช ปีที่ 48 จากที่วิจัยจังหวัด Niigata ประกาศพันธุ์ Fuka Midori ทนโรคราแป้ง เถาปริแตก ปีโชวะ 49 ประกาศพันธุ์ Amusu ปีโชวะที่ 52 บริษัท Sakata ประกาาพันธุ์ Andes เมลอนตาข่ายเนื้อในสีเขียว นอกจาก Amusu และ Andes ที่นิยมกันมาก แล้ว ยังมี Signal , Andes no2 ,
Higo Green , Otome ,   Bell Grand no2 ,  HN21  ,Andes no5 ,  Roran L,  Takami  ,Ruisu  , Bonus no2,
Ichiba kouji , Delicy ,Grace ,Kiss me no1  , HN 27  ,King Melty  ,G08 ,G31  , Kairyou Kluger เป็นต้น 

(4) House Melon แบบมีลายตาข่าย (เนื้อในสีส้ม)
แบบเนื้อสีส้ม จุดริเริ่มจากบริษัท Ichidai เป็น F1 ปีโชวะที่ 14 Earl's x Spicy เป็นพันธุ์แรกเริ่ม หลังจากนั้นถูกเรียกรวมเป็นสายพันธุ์ Hokkaidou king ปัจจุบันกลายมาเป็น Yubari King และ Sapporo King ความต้านทานโรคไม่มี การเก็บรักษาได้ระยะสั้น รสชาติยังถูกประเมิน จึงเป็นความทุ่มเททั้งหมดของทาง ฮอกไกโด
หลังสงคราม การปรับปรุงพันธุ์มีมาก พันธุ์หลักๆที่หมุนเวียนทางฮอกไกโดจะมี Rupia Red,   I-K ,   R113 ,    LC no.2 ,   King Ruby ,   Monami Red ช่วงปี เฮเซที่ 2-4 Melon เนื้อในสีส้มเป็นที่นิยมอย่างมากมีออกขายกันมากมาย แต่พันธุ์ที่อยู่รอดหลักๆคือ Quincy และ  Natsu no Quincy ทางฮอกไกโดยังเป็น Rupia Red ทางใต้คือ Paris และ Tiffany สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เนื้อส้มนี้ การนำแคนตาลูปจากอเมริกาที่เป็นเนื้อส้มผู้ปรับปรุงพันธุ์ดูเหมือนว่าจะ จัดการได้ง่าย แต่เรื่องความหวานยังไม่ได้ตามที่ต้องการ 

(5)Melon ไม่มีลายที่เปลือกของตะวันตก (Western or foreign type )
ในโลกนี้เมลอนแบบไม่มีลาย มีมากมายหลายชนิด ที่จังหวัด Okayama เมลอน Honeydew ถูกปลูกแทรกไปในห้องเรือนกระจกที่ใช้ปลูกองุ่น เป็นพันธุ์ที่ อเมริกา แคลิฟอเนียปลูกกันตามทุ่งโล่ง เมื่อตอนนำเข้ามาในญี่ปุ่น ยังมีรอยโคลนติดมากับเมลอน  หลังสงคราม บริษัทเมลอนที่จังหวัด Nara ได้นำเข้าเมลอนไม่มีลายมาจากสเปน คัดเลือกสายพันธุ์แท้บริสุทธิ์ และได้ประกาศพันธุ์นี้เมื่อปี โชวะ 41 Spain Melon no boru no3.no2 ต่อมาในปี โชวะ 45 ประกาศสายพันธุ์ F1 จากการวิจัยทดลอง พันธุ์ Ivory พันธุ์ที่กล่าวมานี้ปัจจุบัน แทบไม่ได้ปลูกกันแล้ว ต่อมาในปี โชวะที่52 บริษัท Kobayashi ได้ประกาศพันธุ์ Homerun Star  25 ปีต่อมาจนปัจจุบันกลายเป็นพันธุ์ที่เป็นตัวแทนหลักของญี่ปุ่น พันธุ์ตัวแทนหลักอื่นๆก็มี Birensu , Kantori

Yubari Melon ที่สนามบิน ShinChitoseตัวแทนจากฮอกไกโด
Rupia Red
จากฮอกไกโด
「R113」
เมลอนไม่มีลาย
Honeydew จากอเมริกา
เมลอนเปลือกสีขาว
Homerun Star
Papaiya Melon
(6)Melon ไม่มีลายที่เปลือกของญี่ปุ่น(Oriental melon (makuwauri))
พันธุ์ที่เป็นตัวแทน หนีไม่พ้นพันธุ์ Prince บริษัท Sakata ออกขายครั้งแรกในปี โชวะที่ 37 (1962) หลังจากนั้นได้รับการพัฒนาให้ทนโรคพืช และอยู่ในวงการมา กว่า 40 ปี Prince ถูกประกาศให้เพิ่มพื้นที่เพาะปลุกในแต่ละปี จึงมีบริษัทอื่นๆได้หาพันธุ์ที่มาจากสายเดียว หรือ ใกล้เคียงกับ Prince มาขาย แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะพันธุ์ใกล้เคียงจะมีปัญหาเรื่องผลแตก 
พันธุ์ที่ทนต่อการปริแตกได้ดีก็มี sharante ของ ฝรั่งเศส อีกพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์มานานคือ Elizabeth ของบริษัท Mikado ออกขายปีโชวะที่ 43 แต่ Elizabeth สมัยก่อน กับปัจจุบันสายพันธุ์ต่างกันสิ้นเชิง
อื่นๆก็มี  เมลอนสเปน Kinsho ของบรษัท KK จะมีเปลือกสีเหลืองเข้ม นิยมจัดใส่ในตระกร้ากระเช้าของขวัญ เพราะสีที่โดดเด่น เป็นที่น่าดีใจแก่ผู้รับของขวัญ  เมลอน Ascot ของบริษัท Yamato ก็ นิยมใช้ใส่ตะกร้าของขวัญเช่นกัน อีกพันธุ์ที่ขอกล่าวถึงคือ Papaiya ของบริษัท Aisan ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพียงระยะเวลาหนึ่ง เมลอนแบบไม่มีลายจะมีทั้งที่มาจากตะวันตก และ แบบ Oriental melon (makuwauri) ของญี่ปุ่น แต่ทั้ง 2 อย่างนี้พันธุ์ที่มีชีวิตอยู่ในวงการเพียงสั้นๆ มีมากมาย สาเหตุเพราะ เรื่องผลปริแตก แม้จะปลูกขึ้นกันง่ายดาย เมื่อเกิดผลปริแตก พันธุ์ที่มีปัญหา ก็จะถูกคัดออกจากตลาดไปโดยปริยาย 

(7) Melonตาข่าย  ที่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเป็นสีเหลือง
แบบนี้ที่ญี่ปุ่นไม่ได้มีออกขายมากนัก จะเก็บเกี่ยวเมื่อเปลือกกลายเป็นสีเหลืองทั้งหมด ซึ่งก็คือผลสุกแล้ว ถ้าเป็นเมลอนอื่นทั่วๆไปผลเป็นสีเหลืองทั้งลูกแล้ว แปลว่าไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้หลังเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นพันธุ์เฉพาะนี้ เมื่อเหลืองทั้งลูกแล้วจะเก็บได้อีก 3-4 วัน ถึงกินได้ ครั้งแรกที่กัดจะกรอบ รสชาติเหมือนเมลอนทั่วๆไป ปริมาณน้ำตาลสูงมาก ที่มีออกขายจะมีรุ่น Midori no yosei ของบริษัท Sakata  ,Aji no ka ของบริษัท Kyouwa  , และ Erika ของบริษัท Kobayashi

Prince อยู่มา กว่า 40 ปี ปัจจุบันก็ยังเพาะปลูกกันอยู่New Melon เป็นพันธุ์
ที่มีเชื้อสายมาจาก Prince
YM9801

2การเพาะปลูก และ การ การผสมพันธุ์

การปลูกเมลอน แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่พยายามมาหลายปี บางครั้งก็ยังล้มเหลว ได้มีการออกขายคู่มือวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการเพาะปลูกไว้ ในที่นี้จะขอรวมคำอธิบายไว้ ที่แม้สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกเมลอนเป็นสวนครัวหลังบ้าน หรือที่ระเบียงก็จะสามารถปลูกได้

1 การเพาะกล้า

สำหรับผู้ที่จะปลูกเป็นสวนครัว หรือ สวนเล็กๆที่บ้าน ควรซื้อต้นกล้าจากร้านศูนย์ที่มีผู้แนะนำการปลูก จะดีกว่า
สำหรับผู้เริ่มปลูก ขอแนะนำ พันธุ์ Prince ถ้าเมลอนตาข่ายขอแนะนำ Andes, Amusu, Ichiba kouji  พันธุ์พวกนี้จะปลูกได้ง่าย ควรเริ่มระยะต้นกล้าในช่วงอุณหภูมิสูง สำหรับพันธุ์ที่ไม่มีคุณสมบัติทนอากาศร้อน รสชาติจะไม่ค่อยหวาน

2 เตรียมย้ายปลูกถาวร และ การจัดการหลังจากนั้น


低温時活着肥の位置
(superphosphate)
หากปลูกในสวนเล็กที่บ้าน อย่างน้อยควรทำหลังคาคลุม ถ้าปลูกให้เลื้อยบนพื้นดินก็ทำเป็นหลังคาเตี้ยแบบอุโมงค์ แต่แนะนำว่าการปลูกแนวตั้งเลื้อยสูงขึ้นไป จะดีที่สุด สำหรับผู้ปลูกในกระถาง ระวังอย่าให้โดนฝน ให้เจอแดดที่ระเบียง กระถางใหญ่ ปลูก 2 ต้น  กระถางเล็ก ต่อ 1 ต้น กำลังดี ดินควรใช้ที่ปรับค่า pHแล้ว และต้องไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ 9ใน10 ส่วนของกระถาง
ปุ๋ยใช้ EXmikae-su14 ของ สุมิโตโม ให้ 50g ต่อต้น หรือใช้ Super sumiko-to รุ่น 120 วัน ที่มีส่วนของไนโตรเจน 14% หรือปุ๋ยที่ออกฤทธิ์ช้าอื่นๆก็ได้
ปลูกถาวรให้ทำแบบในรูป ให้กระถางโผล่ขึ้นจากดิน เลือกวันที่อากาศอุ่น เอาน้ำอุณหภูมิ 25℃ ใส่ในหลุมปลูก  เอากระถางแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 25℃ ก่อนลงหลุมด้วย ถ้าอยู่ในช่วงวันที่อุณหภูมิต่ำ ให้ใช้แผ่นฟิล์มใสอเนกประสงค์คลุมผิวหน้าดินไว้รักษาให้อุณหภูมิอุ่นเข้าไว้

3การเจริญเติบโตหลังปลูกถาวร

หากกลางคืนมีลม ต้องคอยปิดอย่าให้โดนลม หรือ ฝน ใบแท้หลัก และกิ่งแขนงเมื่อออกมาตั้งแต่ลำดับกิ่งที่ 10 ลงมาเอากิ่งที่แทรกมา ตัด,เด็ดออกให้หมด ลำดับที่ 11-14 แขนงที่แทรกมาให้เหลือ 2 ใบ เถาบนสุดที่เลื้อยโตขึ้น ให้ตัดเหลือที่ 25 ใบ  (แปลไม่เข้าใจ หัวข้อนี้ไม่รับประกันความถูกต้อง)

4ออกดอก ผสมพันธุ์ ออกผล

หลังปลูกถาวร 35 วัน ดอกตัวเมีย และตัวผู้ ออกดอก ให้ใช้พู่กันลูบเบาๆที่ดอกตัวผู้ แล้ว มาลูบที่ดอกตัวเมีย ต้องดูให้แน่ใจว่าผสมเกสรกันเรียบร้อย แล้วให้น้ำเพียงเล็กน้อย ทุกวันดอกจะบาน 1 ดอก 4 วันก็ 4ดอก ที่ได้รับการผสมแล้ว รังไข่/ผล จะเริ่มใหญ่ขึ้น ให้เลือกทรงที่เป็นวงรีใหญ่ที่สุดไว้ 1 อัน ที่เหลือเอาออกทิ้งให้หมด ถ้าเป็นพันธุ์เล็กเช่น Prince Melon ให้ไว้ 2 อัน เมื่อแน่ใจการออกเป็นผลต่อไปแล้ว กลับมาให้น้ำตามปกติ

5硬化期とその後の管理 ช่วงฟอร์มผล


玉釣の図
หลังผสมพันธุ์  10-15 วัน ผลจะขยายใหญ่ขึ้น อย่าให้น้ำมากเกินไป การขึ้นลายแล้วแต่พันธุ์ อาจขึ้นช้า เมื่อผลใหญ่ได้ที่ใช้เชือกผูกพยุงไว้ตามภาพ

6肥大期とネット期 ช่วงขยายตัว และขึ้นลาย

หลังออกดอก 13 วัน ผลจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ค่อยๆเพิ่มการให้น้ำช่วงนี้ ลายตาข่ายก็ค่อยๆชัดเจนขึ้น จนเสร็จสมบูรณ์ใน 40 วันหลังออกดอก เมื่อลายขึ้นสวยงามเรียบร้อยแล้ว ค่อยๆลดปริมาณน้ำลง หากปลูกในกระถางเล็ก จะกะปริมาณน้ำยากกว่า ระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป

7糖度上昇期 ช่วงน้ำตาลขึ้น

ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วันจะเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลในผลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานี้ให้ค่อยๆลดปริมาณการให้น้ำลง หากปลูกในกระถาง กะบะ เหมือนจะควบคุมได้ง่าย แต่ก็ต้องระวังปริมาณน้ำเช่นกัน ระยะนี้เป็นระยะที่ลำบากที่สุดในชีวิตของเมลอน เพราะเมลอนจะได้รับผลกระทบจากการลดปริมาณน้ำทำให้ราก กิ่งก้านอ่อนแอลงแต่จำเป็นต้องทำ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเนื้อให้สูงขึ้น และสิ่งที่ไม่ควรทำคือการพยายามเพิ่มผลให้มีมากเกินไป การทำเช่นนั้นจะทำให้ใบแห้งเหี่ยว (รูปA) และน้ำตาลไม่ขึ้นอีกด้วย

8収穫期 ช่วงเก็บเกี่ยวผล

การเก็บเกี่ยวแต่เนิ่นๆเพื่อการเตรียมขนส่งไปขายก็ดี หรือ ถ้าจะไว้กินเอง เก็บเกี่ยวในช่วงใกล้สุกพอดีก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ด้วย ถ้าขั้วเมลอนเริ่มบวมๆ ส่วนล่างของผลกลายเป็นสีออกเหลืองแล้วเก็บเกี่ยวได้เลย

9収穫後、食べるまで หลังเก็บเกี่ยวจนถึงทานได้

เมลอน ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ที่เก็บไว้ได้นานหลังเก็บเกี่ยวก็ตาม หรือไม่สามารถเก็บไว้ได้นานก็ตาม ก็ไม่สามารถทานได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยว Andes , Amusu  เก็บไว้ 4-5 วัน ที่อุณหภูมิห้อง แล้วก่อนกินให้แช่ตู้เย็นไว้ครึ่งวัน  หากนำไปแช่ตู้เย็นหลังเก็บเกี่ยวทันที ก็จะกลายเป็นเมลอนแข็งๆ
(A)ออกผลมากเกินไป ใบเหี่ยว แบบนี้ไม่หวานใบเป็นราแป้งเถาก้าน ปริแตก เน่า

3แมลง โรคพืช และการจัดการ

1โรคพืช


CMV เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก
(1) べと病 ใบเป็นจุด
จะเกิดมากช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นมาก ที่ใบจะเกิดโรคเป็นสีน้ำตาลแดงรูปร่างเป็นจุด หรือ รูปร่างไม่แน่นอน ทำให้ใบตาย ใช้ Dakoniru 1000,Jimandaisen ฉีดพ่น 1 ครั้ง ต่อ 10 วัน ช่วยป้องกันได้

(2)うどんこ病 ใบเป็นราแป้ง
เมื่อก่อนจะเกิดมากในฤดูใบไม้ร่วง แต่ปัจจุบันในฤดูใบไม้ผลิก็เกิดขึ้นด้วย
วิธีป้องกันใช้ Dakoniru 1000 หรือ Polyoxin AL ฉีดพ่น
(3)つる枯病 เถาก้าน ปริแตก เน่า
จะเกิดช่วงหน้าฝน หรือ ที่มีความชื้นมาก หลังจากช่วงที่ผลขยายใหญ่ขึ้น ใช้ Polyoxin AL 
(4)CMV(キューカンバーモザイクウィルス)Cucumber mosaic virus
เพลี้ยทีมีปีกจะนำพาไวรัสมา ทำให้ใบเป็นลายโมเสค ยังทำให้ผลไม่ใหญ่อย่างที่ควระเป็น ลวดลายตาข่ายก็ผิดเพี้ยน เกิดมากช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ใกล้จะเก็บเกี่ยว หากปลูกแบบควบคุม มีการคลุมป้องกันทั้งทางเข้าออก หน้าต่างอยางดี ช่วยป้องกันแมลงเหล่านี้ได้ดี

2ศัตรูพืช

(1)アブラムシ เพลี้ย
ไวรัสเป็นตัวกลางสำคัญ การป้องกันที่ง่ายที่สุดคือ ในหลุมปลูกให้ใส่ยา Dantotsu (เกี่ยวกับป้องกันแมลง) 1-2 g. ต่อต้น/หลุม
(2)ワタヘリクロノメイガ(ウリノメイガ)Diaphania indica ผีเสื้อ
แมลงทำลายพืชจะมีมากตั้งแต่หน้าร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วง ยาที่มีประสิทธิภาพมีไม่มากนัก ยาที่ได้รับการลงทะเบียน สำหรับตระกูลแตง คือยาน้ำพ่น Zendari ของบริษัท Sumitomo


บทความที่ 2

วิธีการปลูกเมลอน เทคนิค

土づくり ดิน

ต่อพื้นที่ 10m² ใส่ N 100-200g   P150-200g   K120-150g การเกิดแมลง คุณภาพผลผลิตต้องระวังควบคุม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ Biodaruma จะช่วยระบบราก เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดี  
(**ส่วนประกอบของ Biodaruma  --> N2.6%、 P7.7%、K5.1%、Lime 20%)

定植 ปลูกถาวร

メロンの定植(図)อุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถคือ 14℃ อุณหภูมิดินได้มากกว่า 16-18℃ หากปลูกในอุโมงค์ควรเริ่มช่วงกลางเดือน 4 (ญี่ปุ่นอุณหภูมิ 15-25℃) เพื่อให้ดอกตัวเมียบานได้อย่างดี ก่อนปลูกถาวร 2 สัปดาห์ เตรียมทำอุโมงค์ไว้ หลังย้ายปลูกถาวร พยายามทำให้ดินอุ่นขึ้น

รากของเมลอนค่อนข้างตื้น ต้องการออกซิเจนอย่างเต็มที่ ดินต้องระบายน้ำได้ดี ปริมาณความชื้นในดินในแต่ละช่วงจะมีความต้องการแตกต่างกัน อากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การใช้แผ่นพลาสติกดำปูพื้น หรือ ทำอุโมงกัน คือส่วนหนึ่งของการดูแล
(ในภาพ อุณหภูมิที่เหมาะสมช่วงกลางวัน 25-28
ช่วงกลางคืน 18-20℃)

定植後の管理 หลังปลูกถาวร

メロンの定植後の管理(図)การปลูกควรทำในช่วงเช้าที่อากาศดี เมื่อใบหลักออก 4-5 ใบ ให้เด็ดใบที่แทรกออกตามภาพ และเหลือใบลูก 2 ใบตามภาพ

仕立て方 การจัดการเถาใบ

กิ่ง子づる มี 2กิ่งจะให้ผล 4 ผล  กิ่งหลักเมื่อมีใบแท้ 4-5ใบให้เด็ดปลายทิ้ง ให้กิ่ง子づる 2 กิ่งเลื้อยโตได้ดี  คอยกำจัดกิ่งข้างเคียงกิ่งที่ออกผลให้เร็วที่สุด  กิ่ง子づるให้มี 25 ข้อ,กิ่ง  ที่เกินกว่านั้นเด็ดทิ้งก่อนผสมพันธุ์ 2-3 วัน  กิ่งข้างเคียงของกิ่งที่จะออกผล ให้เหลือใบ 3ใบไว้ที่ปลายนอกนั้นให้กำจัดทิ้ง
เมื่อผลออกแล้ว ให้เหลือผลหลักที่ดีไว้ ผลด้อยข้างเคียงเด็ดทิ้ง

交配 ผสมพันธุ์--

メロンの交配(図)ดอกตัวเมียจะอยู่ข้อที่ 1 ของกิ่งข้างเคียง ดอกตัวผู้จะอยู่ที่กิ่งหลัก แม้จะผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติโดยอาศัยผึ้ง แต่ผสมเทียมโดยมนุษย์จะมั่นใจได้ดีกว่า ก่อนดอกบาน 2-3 วัน ไม่ควรให้ต่ำกว่า 13℃ หรือมีฝน คุณภาพในดอกจะลดลง ควรมีอุณหภูมิ 15℃ ขึ้นไป หลังผสมแล้ว ควรรักษาอุณหภูมิให้ได้ 20℃ เป็นเวลา 24 ชม.

摘果 การเด็ดผลทิ้ง

メロンの摘果(図)หลังผสมพันธุ์ 7-10 วัน จะเป็นช่วงเด็ดผลด้อยทิ้ง ตามรูป ซ้ายสุดที่มีลักษณะรีเหมือนไข่ไก่จะโตให้ผลที่ดี ให้เก็บไว้  รูป กลาง และขวามือ เป็นลักษณะด้อยให้เด็ดทิ้ง ถ้าปล่อยไว้จะทำให้น้ำตาลไม่ขึ้น 10-15 วันนับจากผสมพันธุ์ ผลจะขยายใหญ่ขึ้น

収穫 เก็บเกี่ยว

ช่วงเก็บเกี่ยว จะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์  หลังออกดอกประมาณ 50-60 วัน ลายจะขึ้นไปถึงขั้วผลไม้ รอยดอกที่ผลจะแตกออก ความหวาน ความหอม  เกิดจากน้ำตาลภายในผล ทำให้เกิดแอลกอฮอล alkyl esterที่สามารถรวมกับกรดผลไม้
เมลอนตาข่ายต้องเก็บไว้ 5-10 วัน จึงรับประทานได้
  • 収穫適期のメロン収穫適期のメロン
  • 収穫適期のメロン
  • メロンの収穫(図)











บทความที่ 3

การปลูกเมลอน


Ⅰ.โครงเรื่องของเมลอน

1.การจัดการเมลอน

(1) บทบาทสำคัญการเพาะปลูก
・ปลูกถาวร-เก็บเกี่ยว ใช้เวลา 100 วัน
・จัดการเรื่องความสมดุลของสารอาหารในพืช การฟอร์มผล อุณหภูมิ การให้น้ำ

(2) การบริหาร
・ปริมาณการเก็บเกี่ยวมีแนวโน้มลดลง

2. ประวิติศาสตร์เมลอน

・ถิ่นกำเนิดของเมลอนนั้น ทฤษฎีที่ว่า เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตชายฝั่งทะเลแม่น้ำไนเจอร์ของแอฟริกาตะวันตกก็มีอิทธิพลอยู่

・หลังจากนั้นก็ไปที่ อียิปต์ เอเชียกลาง ทางใต้ของสหภาพโซเวียต จนไปถึงยุโรป มีชื่อว่า Melon พอไปถึงจีน มีชื่อว่า Makuwauri 

การเพาะปลูกได้รับมาจากอียิปต์และกรีซยุคโบราณ   ศตวรรษที่11-13 จะรับความรู้จากอิตาลีและสหภาพโซเวียต  ศตวรรษที่15-16 ศตวรรษได้รับการถ่ายทอดจากยุโรปอย่างจริงจัง

・ที่ญี่ปุ่นปรากฎขึ้นในสมัยยุคปลายของโจมง มีชื่อว่า Makuwauri และ Shirouri แล้วก็ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

・พืชแตงเหล่านี้ปลูกมาจนถึงยุคเอโดะ เมลอนที่ปลูกในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นจาก นาย Fukuba Hayato ผู้มีชื่อเสียงด้านการเกษตร ในยุค เมจิที่ 26 ได้นำวิธีการปลูกในโรงเรือนจากฝรั่งเศส แล้วค่อยๆเป็นที่แพร่หลาย จนถึงปี ไทโชที่ 7 เข้าสู่ตลาดทั่วไป

・ปีไทโชที่14 มีการนำ Earl's Favorite มาจากอังกฤษ

・แต่เป็นผลไม้ชั้นสูงที่คนทั่วไปยังเข้าไม่ถึง

・ปีโชวะที่ 37ในบรรดาเมลอนดั้งเดิมของญี่ปุ่น 「Prince Melon」ถือว่าดีที่สุดที่เข้ามาในตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงเสาะหารสชาติของเมลอนที่แท้จริง ปรับปรุงพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก นำเมลอนจากตะวันตกเข้ามาในตลาดอยู่เสมอ

3. ชนิด พันธุ์ รูปร่างคุณสมบัติ

(1) ชนิด ประเภท
・เมลอนอยู่ในตระกูลแตง

(2)  ราก
・อุณหภูมิที่เหมาะสมให้รากยืดออกคือ 34℃ ต่ำสุดในการเกิดรากคือ14℃
・รากเมลอน บาง อยู่ที่ตื้น และกระจายออก มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิดิน ไวต่อความชื้น ความแห้ง
・รากหลายๆรากที่รวมตัวกันใต้ดิน จะอยู่ที่ความลึก 10~15cm

(3)  การออกดอก
・ดอกตัวเมียจะอยู่ที่ข้อที่ 1 ของกิ่งข้างเคียง ดอกตัวผู้จะขึ้นที่กิ่งหลัก

4.เงื่อนไขต่อการเจริญเติบโต

(1) อุณภูมิ
・อุณหภูมิการงอกอยู่ที่ 28~30℃ อุณหภูมิการเจริญเติบโต 22~30℃(ดีที่สุด25~28℃)ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่า13℃ ต้องจัดการควบคุมให้สูงขึ้น
・อุณหภูมิดินที่เหมาะสม แตกต่างกันตามชนิดและสายพันธุ์  สำหรับเมลอนคือ ต้องมากกว่า15~16℃

(2)  แสง
・แสงที่เมลอนต้องการคือ 5.5 หมื่น lux
・เมลอนต้องการระดับแสงที่หลากหลาย ความชื้นต่ำ อุณหภูมิที่ต่างกันในแต่ละช่วงการเติบโต

(3)  ดิน
・ดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี ค่าpH6.0~6.5
・รากเมลอนต้องการออกซิเจนมาก ดิน น้ำ ต้องการการระบายน้ำ อากาศได้ดีメ

5. สายพันธุ์

(1) สายพันธุ์เมลอน
・มีสายพันธุ์เรือนกระจก, earl's Melon , House Melon มีลายตาข่าย ,เมลอนไม่มีลาย เป็นต้น

(2) สายพันธุ์หลัก
・สายพันธุ์หลักของฮอกไกโดมีดังนี้

1) Rupia Red (Mikado Kyouwa)
・เมลอนตาข่ายเนื้อในสีส้ม จัดการได้ง่าย
・ช่วงระหว่างข้อมีความยาว ให้ผลใหญ่ 
・ระดับน้ำตาล 15 องศาบริก รสชาติดี ลายตาข่ายขึ้นมั่นคง
・หลังออกดอก 55 วัน สุกกำลังดี เก็บรักษาได้ดี
・ทนต่อโรคราแป้ง เถาปริแตก ไม่จำเป็นต้องติดตา ต่อกิ่ง

2)  Yubari King (JAYubari)
・ในปีโชวะ ที่ 36 (1961) เขตYubari ที่ฮอกไกโด ได้ออกพันธุ์ที่ปรับปรุงมาจาก  Miyabi (Spicy Cantaloup) x  Miyabi (Earl's Favorite )

3) Red 113U(มหาลัยเกษตรแห่งญี่ปุ่น)
・เป็นพันธุ์ที่โตเร็วกว่าRed 113 ให้ผลใหญ่คุณภาพดีเก็บผลได้ตั้งแต่กลางเดือน 7
・ใบใหญ่เถาแข็งแรง ออกผลใหญ่

4) Red 113(มหาลัยเกษตรแห่งญี่ปุ่น)
・ปลูกแบบควบคุมจะได้ผลดี ผสมพันธุ์ได้ในช่วงกลางเดือน 6 รอเก็บเกี่ยวหลังจากนั้น
・จัดการได้ง่าย ผลใหญ่ การผิดเพี้ยนของรูปร่างเกิดได้ยากขึ้น การกำหนดช่วงเก็บเกี่ยว การสังเกตประเมินได้โดยง่าย
・ให้ผลหนัก 1.5~2.5kg ลูกกลม เปลือกนอกสีเขียวเข้ม ลายตาข่ายขึ้นหนาแน่น คุณภาพดี
・เนื้อในสีส้มหนา เมล็ดเล็ก เก็บรักษาได้หลังเก็บเกี่ยว

6.ช่วงเวลาการปลูก

・ยึดหลักการปลูกที่ฮอกไกโดดังนี้
(1) ควบคุมแบบเพิ่มอุณหภูมิ
เพาะเมล็ด ต้นเดือน 3 ~กลางเดือน3 、ย้ายปลูกถาวร ต้นเดือน 4~กลางเดือน 4、
   เก็บเกี่ยว ต้นเดือน 7~กลางเดือน 7

(2) ควบคุมแบบไม่เพิ่มอุณหภูมิ
เพาะเมล็ด กลางเดือน 3~ต้นเดือน 5、ย้ายปลูกถาวร กลางเดือน 4~ต้นเดือน 5、
   เก็บเกี่ยว กลางเดือน7~ปลายเดือน7

(3) ปลูกในอุโมงค์
เพาะเมล็ด กลางเดือน4~ปลายเดือน4、ย้ายปลูกถาวร กลางเดือน5~ปลายเดือน5、
  เก็บเกี่ยว ต้นเดือน8~กลางเดือน 8

(4) ปลูกใน House โรงเรือน
เพาะเมล็ด ปลายเดือน5~ปลายเดือน 6、ย้ายปลูกถาวร ปลายเดือน6~กลางเดือน 7、
  เก็บเกี่ยว ปลายเดือน9~ปลายเดือน 10

Ⅱ.การปลูกเมลอน

1.ต้นกล้า เพาะกล้า

(1)  เพาะเมล็ด
・ก่อนปลูก แช่น้ำอุ่นที่ 35~40℃เป็นเวลา ครึ่งวัน
・ตอนกลางคืน หุ้มด้วยผ้าขนหนูเปียก และเก็บรักษาอุณหภูมิไว้ใน kotatsu (ผ้าห่มมีไฟฟ้าของญี่ปุ่น) รุ่งเช้าที่ปลายด้านหนึ่งของเมล็ดเริ่มเปิดออกพร้อมสำหรับการงอก

(2)  การงอก
1) อุณหภูมิ
・ดีที่สุด30℃    หากมากกว่า42℃ จะเกิดความเสียหาย    ต่ำกว่า16℃ จะให้ผลล่าช้า และผิดปกติได้
・กลางคืนถึงเช้า ให้ปรับอุณหภูมิที่ 30℃ เพื่อกระตุ้นการงอก

(3) การจัดการช่วงก่อนย้ายปลูก
・หลังการงอกควรให้ดินลดลงอยู่ที่ 20℃。
・อุณหภูมิช่วงกลางวัน 28~30℃、กลางคืน 15℃
・ถ้าให้น้ำมากไป จะโตเร็วเกินและต้นกล้าอ่อนแอ ตอนเย็นๆให้พื้นดินแห้งไว้จะดี

(4) การย้ายปลูกลงกระถาง
・ก่อนย้าย 3~5วันใส่น้ำลงกระถาง ปูพื้นด้วยพลาสติกสีดำ ใส่ไฟฟ้าให้ความร้อน อุณหภูมิดินที่ 30℃
・ใหทำช่วงที่ใบเริ่มงอกออกจากเมล็ด
・หลังย้ายปลูก ทำที่คลุม อุโมงค์ ให้ร่มเงา เจอแสงเบาๆ และป้องกันไม่ให้ต้นกล้าล้ม

(5) การจัดการก่อนปลูกถาวร
・ต้นกล้าถ้าโดนลมโดยตรงต้นจะล้ม ในโรงเรือนเปิดหน้าต่างครี่งบาน หรือในอุโมงเปิดผ้าคลุมขึ้นจากพื้นนิดหน่อยให้ระบายอากาศได้

(6) สภาพก่อนปลูกถาวร
・ใช้เวลา 30~35 วัน หลีกเลี่ยงต้นกล้าที่รากแก่
・ก่อนปลูกถาวร ให้มีใบแท้เหลือ 3 ใบแล้วเด็ดยอดทิ้ง 

2.การเตรียมพื้นที่

(1) ปรับสภาพดินpH
・ปรับสภาพดินเตรียมไว้ล่วงหน้า pH6.0~6.5

(2) การใช้ปุ๋ยหมัก
・การฝช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ต้องดูที่ โพแทสเซียมที่ให้ประจุบวก และความมีเสถีรภาพความชื้นในดิน 
ใช้1~2tต่อพื้นที่ 10a (10a = 1000㎡)

3.การให้สารอาหารพืช

(1)การดูดซึมของปุ๋ย
1) พื้นฐานเบื้องต้น
・เมลอนต้องการประจุบวกของ โพแทสเซียม  แคลเซียม  แมกนีเซียม ในปริมาณมาก

2) ไนโตรเจน
・ไนโตรเจนที่ถูกดูดซึมในช่วงที่ลายตาข่ายบนเมลอน ขยายใหญ่ขึ้นนี้ สำคัญเพราะช่วยโดยตรงให้เซลส์ขยายใหญ่ขึ้น ถ้าไนโตรเจนไม่เพียงพอในช่วงเวลานี้ การพัฒนาของ callus จะถูกระงับ ลายตาข่ายเมลอนจะขาดการพัฒนาได้

・หลังจากลายขึ้นสมบูรณ์เรียบร้อย การดูดซึมไนโตรเจนที่มากไปจะส่งผลต่อการขึ้นของระดับน้ำตาลในผลไม้ได้

・2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อลดความต้องการของไนโตรเจน ลดการให้น้ำลง

・สำหรับเมลอน  ตั้งแต่หลังผสมพันธุ์จนผลกำลังขยายตัว ปริมาณความต้องการ การดูดซึมไนโตรเจนจะมากที่สุด

・เพื่อให้ไนโตรเจนทำงานได้ดีต้องให้ โดยสัมพันธ์กันกับช่วงที่เหมาะสม การให้ผิดช่วง หรือมากเกิน ผลผลิตที่ได้คุณภาพจะแย่ลง 

・เมลอนเป็นพืชที่มี nitric acid ที่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ยต่อเนื่อง และการฆ่าเชื้อในดิน ระวัง nitric acid ถูกขัดขวาง การเกิดแอมโมเนียขึ้น จะทำความเสียหายให้  ใบไม้จะแข็ง งอ เหี่ยว รากพัฒนาได้ไม่ดี

(2) การจัดอัตราส่วนให้ปุ๋ย
1) วิธีพิจารณา
・เมลอนไม่มีลายต้องการสารอาหารน้อยกว่าเมลอนตาข่าย สารอาหารที่มากไปทำให้ผลมีรูปร่างผิดเพี้ยน  ผลปริแตกได้  

2) การจัดอัตราส่วนให้ปุ๋ย
 หมวดหมู่ ชื่อปุ๋ยปริมาณ
(kg/10a) 
ไนโตรเจน phosphoric acid โพแทสเซียม แมกนีเซียม หมายเหตุ
ปุ๋ยพิ้นฐาน S15号E120 6.0 6.0 6.0 2.4・เพิ่มอัตราส่วนของไนโตรเจนอินทรีย์ 
S009E 606.0 12.0 5.4 1.8 
รวม180 12.0 18.0 11.4 4.2 

4. ปลูกถาวร

(1) การติดตั้งอุปกรณ์
・ก่อนปลูกถาวร 3~5 ให้น้ำอย่างเพียงพอ หลังจากนั้นควรให้อุณหภูมิดินอยู่ที่ 20~25℃
・อุณหภูมิดินที่เหมาะสมคือ 20~28℃ แต่ช่วงการเจริญเติบโตอุณหภูมิที่เหมาะสมมีแตกต่างกันไป
・เพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำค้างแข็ง ทำอุโมงค์กันไว้ 2 ชั้น
・แล้วแต่กรณีสำหรับอุโมงค์เล็ก อาจทำการคลุมพืชแบบ Betagake
・บนวัสดุคลุมดิน (แผ่นพลาสติกดำ) ติดตั้งท่อให้น้ำ


คลุมพืช แบบ Betagake คลุมทับไปบนพืช

(2)ความหนาแน่นของการปลูก
・ระยะห่างระหว่างต้น 70cm  400 ต้น ต่อ 1,000 ตารางเมตร

(3) การย้ายปลูกถาวร
・ให้ทำในช่วงเช้าที่อากาศดี

5.การดูแลจัดการ

(1) อุณหภูมิ
・ในช่วงที่ลายตาข่ายขึ้นแนวตั้ง ถ้าอุณหภูมิต่ำจะทำให้ลูกเล็ก ต้องดูแลควบคุมอุณหภูมิ

(2) การให้น้ำ
・หลังปลูกถาวร 3~4 วัน ให้น้ำอย่างพอเพียง
・หลังปลูกถาวร ลำต้นหลักมีใบแท้ขึ้น 4-5 ใบ ใบใหญ่มากกว่า 2-3 ใบ ถือว่าอยู่รอดสมบูรณ์
・หลังต้นกล้าอยู่รอดโดยสมบูรณ์ ควบคุมการให้น้ำ อุณหภูมิช่วงกลางคืนเหลือ15~18℃
・เมื่อกำหนดการให้ผลแล้ว ลายตาข่ายแนวตั้งเริ่มขึ้นให้น้ำอย่างเพียงพอ

(3) การเลือกกิ่งให้ผล
1) การเลือกกิ่งให้ผล
・กิ่งหลัก ข้อที่ 12~15 กิ่งข้างเคียงนั้นเมื่อยาว 3~4cm เลือกเป็นกิ่งให้ผล

2) พื้นฐานการเลือกกิ่ง
・ที่ปลายใบไม้ ของข้อที่ 1 กิ่งข้างเคียง ถ้าดอกตัวเมียออกมาแล้ว เลือกกิ่งนั้น

3) การจัดการกิ่งที่เลือก
・เมื่อเลือกกิ่งได้แล้ว ให้น้ำมาก 2-3 วัน กลางคืนให้อุณหภูมิสูง ช่วยให้กิ่งโตเร็ว
・ทุกอย่างถ้าเร็วเกินไป ให้น้ำมากเกิน เร่งเกินไป รังไข่ดอกตัวเมียจะมีขนาดเล็ก

(4)  การผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์ใช้เวลาสั้นๆเพียง 2-3 วัน แต่การเตรียมความพร้อม สังเกต ลักษณะ ควบคุมก็เป็นสิ่งสำคัญ

1) ลักษณะดอกตัวเมีย
・ก่อนวันที่ดอกจะบาน รังไข่จะขยายใหญ่เป็นแนวตัั้งเหมือนไข่ไก่

2) วิธีการผสมพันธุ์
・ใช้ผึ้งตามธรรมชาติหรือผสมโดยมนุษย์

3) เวลาของการผสมโดยมนุษย์
・ช่วงดอกบานอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 23~25℃ ควรจะผสมพันธุ์ในช่วงเช้า แต่ก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการออกผลใดๆ

4) การผสมโดยมนุษย์
・ผสมกับดอกตัวผู้ที่อยู่เหนือข้อที่ 2-4 จะให้ออกผลที่ดี

5) การให้น้ำ
・ให้น้ำเพียงพอหลังการผสมพันธุ์

6) สภาพช่วงผสมพันธุ์
・กิ่งข้างเคียงที่ให้ออกผลถ้าใบโดยรอบข้างใหญ่ แปลว่าสภาพแข็งแรงดี
・ถ้าใบยังไม่ใหญ่ การผสมพันธุ์เลื่อนให้ช้าออกนิดนึง ผสมข้อที่สูงๆเข้าไว้

7) การเด็ดใบส่วนเกินทิ้ง
・การเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว หลังจากยืนยันการเลือกออกผลแล้ว คอยจัดการกำจัดกิ่งใบที่แทรกออก
・นอกเหนือจากกำจัดกิ่งใบที่แทรกที่กิ่งออกผลแล้ว กิ่งข้างเคียงก็ต้องคอยกำจัดทิ้งด้วย


(5) ช่วงผลขยายตัว(หลังผสมพันธุ์ ตั้งแต่วันที่10 จะอยู่ช่วงวันที่13~15
1) ด็ดผลด้อย
・หลังผสมพันธุ์ 7~10วัน 
・การเด็ดผลด้อยให้ดู จากรูปร่างของผลที่ยังเล็กอยู่ ดูความหนาของกิ่งให้ผล 

2) การให้น้ำ และอุณหภูมิช่วงกลางคืน
・ช่วงผลขยายตัว เป็นช่วงให้สารอาหารดูดซึมมากที่สุด
・ช่วงเวลานี้ เพื่อให้ไนโตรเจนทำงานได้ดี จัดการเรื่องความชื้นในดิน ให้สารอาหารดูดซึมได้ง่าย
・ช่วงผลยังเล็ก ปรับการให้น้ำ อุณหภูมิตอนกลางคืนให้เหมาะสม
・ผลเล็กถ้าแข็งเกินไป กลางคืนให้อุณหภูมิสูง ในห้องปลูกจะชื้น
・ผลเล็กถ้านิ่มเกินไป กลางคืนให้อุณหภูมิต่ำ ในห้องจะแห้งไม่ชื้น 
・จัดการแบบนี้ 2~3 วัน แล้วค่อยกลับสู่การดูแลปกติ

3) การเกิดลายตาข่ายขึ้นแนวตั้ง
・ตั้งแต่ผลฟอร์มตัวช่วงแรก จนเกิดลายตาข่ายขึ้นแนวตั้ง ลดการให้น้ำลง กลางคืนควรอยู่ที่ 16~18℃ 

4) การเกิดลายตาข่ายแนวนอน
・เมื่อตาข่ายขึ้นแนวนอน อุณหภูมิตอนกลางคืนให้เกิน 2~3℃ ใหน้ำมาก
・การถ่ายเทอากาศช่วงเช้าค่อนข้างช้า ความชื้นในห้องปลูกมีมาก เมื่อใบคายน้ำได้ดีจะช่วยให้ลายตาข่ายเจริญได้ดี 

5) การใช้ประโยชน์ของใบแทรก
・ชวงที่ลายตาข่ายกำลังดำเนินไป เด็ดทิ้งใบแทรกที่กิ่งหลักและข้างเคียงตามที่กำหนดไว้ ที่แทรกมานอกเหนือจากที่กำหนดไว้นั้นให้ปล่อยไว้อย่าเด็ดทิ้งจนกว่าจะเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ผลใหญ่ขึ้น

(6)กิ่งเถาโดยรวม
・การเด็ดตัดทิ้งต่างๆเพื่อให้ส่วนที่โดนตัดแห้งเร็ว ควรทำตอนอากาศแดดดี
・มีเพียง 2 กิ่งหลักที่เจริญเติบโต
・กิ่งใบที่แทรกขึ้นมาจนถึงข้อที่ 5 กำจัดทิ้งให้หมด ข้อที่ 6~7 เด็ดออก 1 ใบ
・กิ่งแทรกที่ขึ้นที่กิ่งให้ผล ดอกตัวเมียจะออกที่นั่น ให้เหลือใบไว้ 2ใบ นอกนั้นเด็ดทิ้ง 
・กิ่งแทรกถ้ามีกิ่งที่บางเกินไป ให้เหลือไว้ 3 ใบ
นอกเหนือจาก กิ่งที่ให้ผล  กิ่งแทรกอื่นๆให้เหลือใบ 1-2 ใบ นอกนั้นเด็ดทิ้ง คอยจัดการ อย่าให้ พันกันยุ่งเหยิง
・กิ่งที่กำหนดการให้ผล หากดูผอมบางเกินไป อาจให้ผลไม่สำเร็จ ให้เลือกกิ่งที่สูงขึ้นกำหนดให้ผลแทน

(7)  การออกผล และการเด็ดผลด้อยทิ้ง
・กิ่งข้อที่จะออกผล มีความสัมพันธ์กัน กับการขยายตัวของผล  กิ่งข้อยิ่งอยู่ต่ำ ผลจะยิ่งเล็ก ผลที่แข็งแรงดีจะอยู่ข้อที่ 8 ถ้าสายพันธุ์ King Melty จะอยู่กิ่งข้อที่ 10

・ในพันธุ์ทั่วไปที่ลูกกลมออกสูง จะให้ เถา 4 ลูก ในพันธุ์ที่แข็งแรงมาก อาจให้ถึง 5-6 ลูก

(8)  ช่วงน้ำตาลขึ้น
・ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน น้ำตาลในผลจะเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว
・ช่วงนี้ค่อยๆลดการให้น้ำลง ต้นจะอยู่ในภาวะเครียด และอ่อนแแอ ต้องค่อยๆระวัง


6. ศัตรูพืช และการจัดการ

(1) โรคพืช
・ขอกล่าวถึงโรคที่เกิดในฮอกไกโดที่ต้องดูแล โรคจุดที่ใบแบบต่างๆ โรคเถาเน่าปริแตก โรคเหี่ยวครึ่งต้น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย







(2) แมลงศัตรูพืช
・ในฮอกไกโดที่ต้องระวังคือ 








(3) ความผิดปกติที่ได้
・หลักๆจะเป็นดังนี้ ผลปริแตก เนื้อในเป็นกรดมาก  ใบไม้เป็นจุดแบบต่างๆตามที่ได้กล่าวมา

7.เก็บเกี่ยว

(1) การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
・ตรงกิ่งที่ผลออกมีใบแห้งตาย ที่ขั้วผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตรงกิ่งมีรอยจะหลุดออก ที่ส่วนก้นของผลมีความยืดหยุ่น ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้ วัดระดับน้ำตาล เตรียมตัดเก็บผลได้ 



บทความที่ 4

เป็นไฟล์รูปภาพ 3 รูป Click ขยายใหญ่ได้